2 Views
Shakespeare In Love (1998) กำเนิดรักก้องโลก
7.1 IMDB Rating

Shakespeare In Love (1998) กำเนิดรักก้องโลก

(Shakespeare in Love)
หมวดหมู่
ผู้กำกับ
นักเขียน Marc Norman, Tom Stoppard
รางวัล Won 7 Oscars. 65 wins & 87 nominations total
Shakespeare in Love เป็นหนังพีเรียดสุดอลังการ พูดถึงความรักของวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ที่มีต่อเลดี้ไวโอล่า Mood&Tone นำเสนอออกมาในแนวโรแมนติกกึ่งคอมเมดี้ ดูสบาย เพลินๆ แทรกดราม่าหน่อยๆ ข้อดีที่สัมผัสได้อย่างแรกเมื่อเปิดหนังขึ้นมาได้เพียงไม่กี่นาทีคือ คอสตูมอลังการมาก โปรดักชั่นยิ่งใหญ่โบราณสมจริง รายละเอียดเยอะ และดนตรีประกอบก็ไพเราะซะด้วย

ดูไปเรื่อยๆ ก็พบข้อดีของหนังมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นบทที่เขียนมาได้ไพเราะเพราะพริ้ง แม้กระทั่งซับไตเติ้ลก็แปลออกมาได้สวยงามราวกับบทกวี ซึ่งนั่นเองทำให้มนุษย์บ้านนาที่ชื่อหมู่บ้านนำหน้าว่า ‘โคก’ อย่างผม รู้สึกกระวนกระวายในการดู นอกจากจะต้องอ่านซับให้ทันแล้ว ก็ต้องพยายามเข้าใจความหมายของภาษาในหนังด้วย ทำให้อารมณ์ในการดูหนังเรื่องนี้ออกจะมืดๆ มึนเหมือนอ่านหนังสือไม่ทันสอบ และดูอนอัวเหมือนเด็กน้อยถูกแม่ปลุกไปโรงเรียน

ความดีถัดไปของหนัง คือ การตีความและนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับเรื่องเกย์ของเช็กสเปียร์ได้น่าสนใจและน่ารักดี และที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลย ก็คือ ความยอดเยี่ยมของหนังในองค์รวม และการแสดงของดารานำหญิง ‘กวินนา พานทอง’ หรือ Gwyneth Paltrow นั่นเอง

ขอเริ่มกันที่เจ๊กวินก่อนละกันครับ ซึ่งถูกค่อนขอด หรือบางคนอาจถึงขั้นประณามว่านางชนะออสการ์ ‘Cate Blanchett’ จากเรื่อง ‘Elizabeth’ ได้อย่างไร จากที่ผมได้ดูการแสดงของกวินก็ไม่ได้ขี้เหร่นะครับ ดูน่ารัก สดใส เพลินๆ สวยและมีเสน่ห์มาก แต่ถ้าถามความยาก ความตรึงตรา และความท้าทายของบท ก็ต้องขอบอกว่า Cate มีมากกว่าด้วยประการทั้งปวง แต่กวินได้ไปก็ไม่ได้ขี้เหร่ เพราะจริงๆ เวทีใหญ่เธอก็กวาดรางวัลเยอะอยู่นะครับ แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าปีนั้นเธอเป็นคนอเมริกันคนเดียว ก็เลยซิวรางวัลไปหรือเปล่า?!?

ปิดท้ายด้วยภาพรวมของหนังที่คว้าภาพยนตร์ยอดเยี่ยมออสการ์ไปครอง เอาตามความคิดของผม หนังเรื่องนี้มีความสมบูรณ์ที่เอื้อต่อ Best Picture ทั้งบท โปรดักชั่น คอสตูม ตนดรี การแสดง รวมไปถึงการเป็นหนังที่อิงเรื่องบุคคลสำคัญของโลกอย่างเช็กสเปียร์ และเป็นเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรม ที่ฝรั่งเค้ายกย่องชมชอบกัน เราคนไทยอาจจะไม่อิน เพราะขนาดขุนช้างขุนแผนและพระอภัยมณีที่อาจารย์บอกให้อ่านไปสอบ ยังไม่ค่อยอ่านกันเลย

สรุปแล้วถือ Shakespeare เป็นหนังที่ยิ่งใหญ่ในหลายๆ ด้าน ได้ออสการ์ไปตั้ง 7 รางวัล แต่พอมาเจอกับความยอดเยี่ยมของ Saving Private Ryan ที่ทั้งยิ่งใหญ่ ทรงพลัง ดูแล้วให้อะไรกับสังคมโลก และติดตาตรึงหัวหลังดูจบ ก็ไม่แปลกที่ Shakespeare จะโดนหลายคนครหาว่าได้รางวัลมาได้ไง เพราะมันเพลินมันงามจริงครับ แต่ดูจบแล้วไม่มีอะไรประทับอยู่ในหัวจิต ตราตรึงอยู่ในหัวใจเท่ากับ Ryan แต่ผมว่าอย่างน้อยก็ดีกว่าปีที่ The Departed ได้รางวัลละครับ

Shakespeare in Love (1998) กำเนิดรักก้องโลกร่วมค้นหาแรงบันดาลของWilliam Shakespeareในการสรรค์สร้างผลงานชิ้นเอกก้องโลก Romeo and Juliet เรื่องคุณภาพก็ใช่ว่าย่ำแย่เลวร้ายประการใดแต่การคว้า Oscar:Best Pictureตัดหน้าSaving Private Ryan,The Thin Red Line,Life Is Beautifulมันช่างน่าพิศวงเสียจริง!

บุคคลผู้เรียกตนเองว่า ‘ศิลปิน’ มักสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ตนเองเป็นที่ตั้ง! William คงเฉกเช่นเดียวกันไม่แตกต่าง แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้หาใช่อัตชีวประวัติ หรือมีหลักฐานอ้างอิงเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ทั้งหมด หลายๆส่วนคือการสมมติแต่งเติมขึ้นจากแนวโน้มความเป็นไปได้
การตีความบทละคร Romeo and Juliet ของภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมว่ามันเจ๋งเป้งสร้างสรรค์มากๆเลยนะ ทำให้ความยากในการเข้าถึงผลงานอมตะก้องโลกนี้กลายเป็นของง่ายขึ้น (ถ้าสามารถดูเข้าใจ) ชีวิตจริงของ William อาจไม่ต่างอะไรกับหนังเรื่องนี้

เกร็ด: ช่วงชีวิตของ William ระหว่าง ค.ศ. 1585 – 92 มีคำเรียกว่า ‘Lost Year’ ไม่รู้ไม่ได้ถูกบันทึกหรือสูญหายไปแล้วอย่างไร้ร่องลอย นั่นทำให้ผู้สร้างสามารถประติดประต่อเรื่องราวเองโดยไม่ต้องอิงความถูกต้องมากมาย
ความน่าพิศวงของหนังเรื่องนี้ก็คือ ทำไมถึงได้ใจคณะกรรมการ Academy ปีนั้นอย่างล้นหลาม ถึงขนาดคว้า Oscar: Best Picture ตัดหน้าภาพยนตร์ระดับ Masterpiece เรื่องอื่นๆอย่างหน้าตาเฉย คงต้องอ้างคำกล่าวของตัวละคร “I don’t know. It’s a mystery”

John Philip Madden (เกิดปี 1949) ผู้กำกับสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Portsmouth, Hampshire เรียนจบสาขาวรรณกรรมภาษาอังกฤษ Sidney Sussex College, Cambridge เริ่มต้นทำงานโทรทัศน์ กำกับบางตอนซีรีย์ ภาพยนตร์เรื่องแรก Ethan Frome (1993), ได้รับคำชมอย่างมากกับ Mrs. Brown (1997) เรื่องราวความสัมพันธ์พิศวาสระหว่าง Queen Victoria (รับบทโดย Judi Dench) กับคนรับใช้เลี้ยงม้า … นั่นคือสาเหตุให้เข้าตา Weinstein ชักชวนให้มากำกับ (1998)