1 Views
The 120 Days Of Sodom (1975) สุขนาฏกรรมอเวจี
5.8 IMDB Rating

The 120 Days Of Sodom (1975) สุขนาฏกรรมอเวจี

(Salò, or the 120 Days of Sodom)
หมวดหมู่
ผู้กำกับ
นักเขียน Pier Paolo Pasolini, Sergio Citti, Pupi Avati
รางวัล 2 wins & 1 nomination
เรื่องราวของ 4 ชายชนชั้นฐานะสูงวัย เลือกเหยื่อทั้งหมด 36 คน ประกอบด้วย – 4 โสเภณีหญิงกลางคน มีหน้าที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับความวิตรฐานของตนเอง – 8 นักเรียนหนุ่ม (Studs) เลือกเพราะมีอวัยวะเพศขนาดใหญ่ – 4 หญิงชราหน้าตาหน้าเกลียด ให้ควบคุมดูแลเด็กๆ – 4 ลูกสาวของ 4 ชายชนชั้นฐานะสูงวัย – และ 16 เด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 12-15 ปี ทั้งหมดอาศัยอยู่ร่วมกันในคฤหาสถ์ห่างไกลที่ Black Forest ระยะเวลา 4 เดือน (ประมาณ 120 วัน) กิจกรรมหลักๆคือรับฟังเรื่องเล่าประสบการณ์ พฤติกรรมแสดงออกอันผิดมนุษย์มนาของ 4 โสเภณีหญิงกลางคน แล้วให้ทาสหนุ่ม-สาวปฏิบัติตามคำสั่ง ผลงาน Swan Song ของผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini ดัดแปลงจากวรรณกรรมชิ้นเอกของ Marquis de Sade ผู้ให้กำเนิดคำว่า Sadism ทำการสะท้อนเสียดสี ตีแผ่ความสุดโต่ง คอรัปชั่นคดโกงกินของชนชั้นปกครอง ต่อประชาชนคนทั่วไปผู้มิอาจโต้ตอบต่อกรทำอะไรได้ ช่างเป็นทรมานบันเทิงที่หาความเริงรมณ์ไม่ได้สักนิด ส่วนใหญ่ของคนที่ใคร่รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ มักคือพวกอยากรู้อยากลอง ได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือนามถึงความเป็น ‘หนังต้องห้าม’ หรือ Snuff Film ท้าทายตนเองจักสามารถอดทนต่อความคลุ้มคลั่ง โรคจิต ซาดิสต์ ได้มากน้อยเพียงใด ถือเป็นความโชคร้ายของผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini เพราะนี่หาใช่ความประสงค์ต้องการแท้จริงของเขาไม่ ถ้าคุณมีความสามารถในการเข้าใจงานศิลปะ ติดตามรับชมผลงานมาต่อเนื่องตั้งแต่เรื่องแรกๆ น่าจะพอรับรู้เป้าหมาย ตัวตน ความสนใจ เพราะเหตุใดถึงสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้าวิกลจริตคิดสร้างหนังสนองคนโรคจิต คงมีแต่พวกผิดปกติเท่านั้นแหละจะมองสุขนาฏกรรมอเวจี คือเรื่องราวสนองกิเลสตัณหาพึงพอใจของตนเอง Salò , or the 120 Days of Sodom คือภาพยนตร์เรียกได้ว่า High Art งานศิลปะขั้นสูง เต็มไปด้วยนัยยะเชิงสัญลักษณ์ ‘Abstraction’ แอบแฝงซ่อนเร้น ความหมายสุดลึกล้ำ มองด้วยตาสัมผัสด้วยใจยังมิอาจจับต้องได้ ต้องใช้สมองครุ่นคิดวิเคราะห์ค้นหาคำตอบ ศึกษาเรียนรู้จักตัวตนของผู้สร้าง ถึงมีโอกาสเข้าถึงอาณาจักร Sodom (และ Gomorrah) นครคนบาปอ้างจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล พันธสัญญาเดิม หนักแผ่นดินจนถูกธรณีสูบกลายเป็นทะเลสาปชื่อ Dead Sea โดยไม่รู้ตัวระหว่างรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมนึกถึงผู้กำกับ Michael Haneke ขึ้นมาทันที ได้ยินว่ายกให้ Salò คือหนึ่งในหนังเรื่องโปรด นั่นหาใช่ความน่าแปลกประหลาดแม้แต่น้อย เพราะถ้าใครเคยรับชม Funny Games (1997) น่าจะล่วงรู้ถึงอิทธิพลแรงบันดาลใจ แฝงแนวคิดนัยยะความหมายไว้อย่างลุ่มลึกล้ำ ภายในเปลือกคล้ายคลึงกันมากทีเดียว